กัญชารักษาโรคสมองเสื่อมได้จริงหรือไม่ ?

กัญชารักษาโรคสมองเสื่อม กัญชากับภาวะสมองเสื่อม นั้น มีประโยชน์ต่อการรักษา หรือเป็นโทษต่อการรักษากันแน่ ซึ่งกัญชาในตอนนี้นั้นได้มี การถูกมาใช้ในวัตถุประสงค์ทางการแพทย์ และยังได้มีการนำข้อมูลการนำกัญชานั้นมาใช้ในการรักษาโรคที่หลาก หลายชนิดมากขึ้นในยุคปัจจุบันนี้นั้นเอง ซึ่งมีรายงานการได้ผลดีในด้านของการรักษา แต่ถึงอย่างไรก็ตามแต่ในทาง การแพทย์นั้นก็ยังไม่ค่อยมั่นใจในการที่จะนำเจ้าตัวกัญชานี้นั้นมาใช้ในการรักาาโรค เนื่องจากว่ายังขาดข้อมูลโดย เฉพาะกลุ่มโดยเฉพาะในกลุ่มประชากรผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 75ปี ซึ่งในส่วนนี้นั้น ส่วนมากจะเป็นกลุ่มบุคคลที่ ไม่ได้อยู่ในประชากรที่เข้าร่วมในงานวิจัยเกี่ยวกับการใช้กัญชาในการรักษาโรคนั้นเอง ซึ่งบุคคลในกลุ่มนี้นั้นจะเป็น กลุ่มที่มีอาการ การเจ็บป่วยหลายอย่างที่อาจะเข้าข้อบ่งชี้ในการใช้กัญชา และยังมีความเสี่ยงในด้านต่างๆ มากขึ้นจาก การใช้ยาได้ อย่างเช่น

การถดถอยในการทำงานของอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกาย การเปลี่ยนแปลงของทางร่างกายที่จะ จัดการกับตัวยา หรือความไวต่อยาเปลี่ยนแปลงไป (เภสัชจลนศาสตร์ และเภสัชพลศาสตร์) ซึ่งผุ้สูงอายุนั้นอาจจะใช้ ยามาแล้วหลายขนาดจนยานั้นตีกัน จนทำให้ผุ้สูงอายุนั้นมีความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงจากยามากขึ้นนั้นเอง ซึ่งในส่วนของการใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาในภาวะสมองเสื่อมจากโรคอัลไซเมอร์ โดยคำแนะนำจากการใช้กัญชาของทาง การแพทย์ กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1/2562 ให้จัดเป็นกลุ่มที่น่าจะมีประโยชน์ เนื่อง จากว่ามีหลักฐานของงานวิจัยของกัญชาในภาวะสมองเสื่อมนั้นมีดังนี้

ซึ่งในงานวิจัยนี้นั้นได้มีการทำการวิจัยในสัตว์ทดลอง จากข้อมูลในสัตว์ทดลองนั้นกลับพบว่า ในกัญชานั้นมีสาร THC ซึ่งเป็นสารประกอบทางเคมีชนิดหนึ่งที่ได้จากการสกัดในกัญชา ช่วยทำให้เกิดการสร้างเซลล์ประสาทในสมอง ส่วนฮิโปแคมปัส (Hippocampus) ที่เกี่ยวกับความจำ ที่จะเป็นตัวป้องกันกระบวนการเสื่อมสถาพของเซลล์ประสาท ภายในสัตว์ทดลอง ซึ่งป้องกันการรู้คิดบกพร่องที่เกิดจากการอักสบ และฟื้นฟูความจำ และการรู้คิดในหนูทดลองที่ อายุมาก ทำให้มีการศึกษาถึงผลของกัญชาในคนที่มีภาวะสมองเสื่อมนั่นเองและในส่วนของผลงานการวิจัยของกัญชาต่อภาวะสมองเสื่อมภายในคน ซึ่งจากผลงานการวิจัยของกัญชาที่มีผลต่อ สมองเสื่อมภายในคน ซึ่งมีการวิจัยเฉพาะด้านการรักาา ไม่มีด้านการปกป้องกันการเกิดสมองเสื่อม โดยจากผลงาน การวิจัยนั้นมีดังนี้

ผลงานจากการวิจัยแบบเปิด

นั้นก็คือ ผู้วิจัย ผู้ป่วย และผู้ดูแลผู้ป่วยนั้นทราบว่าผู้ป่วยที่ได้รับสารกัญชาเพื่อการวิจัย และจากรายงานจากผู้ป่วยเป็นรายบุคคล ในการใช้กัญชาในผู้ป่วยที่มีอาการสมองเสื่อมนั้นมักจะให้ผลที่ดีในการลด การเคลื่อนไหวในตอนกลางคืน อีกทั้งยังช่วยลดอาการทางจิตประสาท อาการพลุ่งพล่าน กระวนกระวาย หงุดหงิด เฉยเมย ก้าวร้าว อาการหลงผิด และพฤติกรรมผิดปกติในตอนกลางคืนนั้นเอง และในส่วของกลุ่งานวิจัยที่เป็นการ ศึกาาเชิงการทดลองแบบสุ่ม และมีกลุ่มควบคุมซึ่งเป็นยาหลอก ซึ่งจะมีคุณภาพของงานวิจัยที่สูงกว่า เพราะจะมีการ เปรียบเทียบผลกับหลอก และผู้วิจัย ซึ่งผู้ที่รับการเข้าร่วมการวิจัยนี่นจะไม่รู้มาก่อนเลยว่าผู้ป่วยนั้นเคยได้รับยาในกลุ่ม ใดซึ่งการวิจัยแบบนี้นั้นจะมี น้อยมากๆ ที่ผู้ป่วยสมองเสื่อมไม่ระบุสาเหตุ และในผู้ป่วยสมองเสื่อมเฉพาะจากโรคอัล ไซเมอร์

ซึ่งมีความไม่ชัดเจนในอคติของการวิจัย ซึ่งได้มีการอธิบาย ได้แก่ การอธิบายการปกปิดการแบ่งกลุ่มผู้ป่วย และการที่ผู้วิจัยไม่ทราบว่าผู้ป่วยอยู่กลุ่มใดไม่เพียงพอ จำนวนประชากรในการศึกษายังน้อย และเป็นการวิจัยที่ดูผล ในด้านพฤติกรรมและอารมณ์เป็นหลัก ไม่ใช่ด้านความสามารถในการรู้คิดความจำ ของผู้ป่วย ผลการศึกษาจากงาน วิจัยแบบนี้ ยังออกมาขัดแย้งกัน คือ ในการวิจัยบางงานพบว่ากัญชาลดลงของความรุนแรงของพฤติกรรมที่รบกวน และลดความรู้สึกทางลบ ลดอาการพลุ่งพล่านกระวนกระวายในตอนกลางคืน และทำให้วงจรการนอนหลับดีขึ้น ในขณะที่บางการวิจัยไม่พบว่าการใช้กัญชาจะลดอาการทางจิตประสาทได้

ซึ่งในส่วนนี้นั้นก็ยังมีการส่งผลข้างเคียงที่ควรระวัง ซึ่งได้แก่ ง่วงซึม มึนงง ปากแห้ง หัวใจเต้นเร็ว วิตกกังวล กระวน กระวาย การรู้คิดบกพร่อง รบกวนความจำระยะสั้น และการตอบสนองทางอารมณ์ สับสน คลื่นไส้ การเดิน และการ ทรงตัวบกพร่อง ลดสมรรถภาพในการขับรถ เพิ่มความเสี่ยงของอาการทางจิต ประสาทหลอน และการฆ่าตัวตาย เพิ่ม ความเสี่ยงของการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตาย เสียชีวิตกะทันหัน หัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งนอกจาก นั้นผู้สูงอายุอาจมีการลดลงของการทำงานของตับและไต อาจทำให้ขับยาออกไปได้น้อยลง มีค่าครึ่งชีวิตของยายาว นานขึ้น และจากการที่ผู้สูงอายุมีส่วนประกอบของไขมันในร่างกายเป็นสัดส่วนที่สูงกว่าคนหนุ่มสาวทำให้ยาสะสม ในไขมัน และใช้เวลาขับออกไปนานขึ้น และต้องระวังอาจเกิดอันตรกิริยาระหว่างกัญชากับยาอื่นได้ เช่น ยานอนหลับ  และอาจมีผลต่อยาที่กระตุ้นหัวใจ ทำให้เกิดความดันโลหิตสูงขึ้น และหัวใจเต้นเร็ว เป็นต้น

อ่านข่าวสารเพิ่มเติม >>> weedbong420.com <<<