เรื่อง น้ำมันกัญชา ดอกและสายพันธุ์กัญชาที่ได้รับความนิยมมากที่สุด
น้ำมันกัญชา หลังจากที่มีร่างกฎหมายเรื่องกัญชาถูกปลดล็อคออกจากประเภทของกลุ่มยาเสพติดเรียบร้อย เชื่อว่าผู้ที่มีความสนใจด้านนี้ หรือหลายคนที่ต้องการปลูกกัญชาคงจะรู้สึกดีใจไม่น้อย ที่ต่อจากนี้สามารถปลูกกัญชาไว้ใช้ประกอบอาหาร เพื่อเพิ่มรสชาติได้อย่างถูกกฎหมาย พร้อมทั้งมีไว้ในบ้านได้โดยไม่ต้องโดนจับใช่ไหมล่ะ และแน่นอนว่ากฎหมายข้อนี้ยังมีข้อถกเถียงต่างๆมากมาย เนื่องจากยังไม่มีกฎหมายลูกออกมาควบคุมอย่างชัดเจน ทำให้มีบางประเด็นที่คนไทยทุกคนยังไม่สามารถใช้กัญชาได้เสรีร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ทุกคนก็สามารถเรียนรู้และทำความรู้จักกับสายพันธุ์กัญชาที่ได้รับความนิยมที่สุดตอนนี้เอาไว้ก่อนได้ ซึ่งจะมีตัวไหนบ้างนั้น ติดตามพร้อมกันได้ในบทความนี้ครับ น้ำมันกัญชาทำยาได้
3 อันดับ สายพันธุ์กัญชาที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก
ใช้น้ำมันกัญชาในจำนวนสายพันธุ์ทั้งหมดของกัญชา ซึ่งมีด้วยกันทั้งหมดกว่า 14,000 สายพันธุ์ เรียกได้ว่าเป็นพืชที่มีให้เกษตรกรเลือกปลูกมากมาย บางคนถึงกับไม่รู้ว่าควรจะปลูกตัวไหน แต่ที่สุดแล้วมีกัญชาเพียงแค่ 3 สายพันธุ์เท่านั้น ที่ได้รับความนิยมปลูกมากที่สุด แต่ว่าจะเป็นสายพันธุ์ที่บางคนกำลังจะปลูกเพื่อทำการค้าขายหรือเปล่านี้ มาติดตามรับชมรายละเอียดได้เลย
- สายพันธุ์ซาติวา (Cannabis Sativa)
เป็นกัญชาที่มีลักษณะของลำต้นที่หนา ความสูงเมื่อต้นเติบโตเต็มที่จะสูงถึง 6 เมตร ส่วนใบจะมีลักษณะเรียวยาว ชอบแดดและโตได้ดีในที่ๆมีอากาศร้อน ผู้ปลูกสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้หลังจากที่ต้นกัญชามีอายุ 9 สัปดาห์ขึ้นไปจนถึง 16 สัปดาห์ ตัวนี้จะมีสรรพคุณโดดเด่นด้านการกระตุ้นประสาท ทำให้ผู้ได้รับรู้สึกสดชื่นอารมณ์ดี ทั้งนี้เองทำให้ได้คนในอาชีพศิลปิน เหล่านักปรัชญา รวมถึงนักดนตรีนิยมใช้เป็นจำนวนมากนั่นเองวิธีใช้น้ำมันกัญชา
- สายพันธุ์รูเดอราลิส (Cannabis Ruderalis)
มีลักษณะของลำต้นที่เตี้ยที่สุด จากกัญชาทั้งหมดที่นำมาให้รู้จักกันในวันนี้ หากมองดูแล้วบางคนอาจจะคิดว่าเป็นต้นวัชพืชแทนที่จะมองว่าเป็นกัญชา เนื่องจากว่าสายพันธุ์นี้มีใบที่กว้าง 3 แฉก การเติบโตนั้นเป็นไปอย่างรวดเร็ว สามารถอยู่ได้ในที่อากาศเย็นและร้อนได้ สำหรับสรรพคุณของตัวนี้ ทำให้ผู้ใช้เกิดความผ่อนคลาย สามารถนอนหลับได้ดี พร้อมทั้งลดอาการคลื่นไส้ได้ แต่ค่า CBD สูงเกินไป เมื่อจะถูกนำไปใช้ มักต้องผ่านการผสมกับสายพันธุ์อื่นๆด้วย
- สายพันธุ์อินดิกา (Cannabis Indiga)
มีลักษณะของลำต้นที่ไม่สูงมากนัก อยู่ที่ความสูงประมาณ 180 เซนติเมตร มีสีเขียวเข้ม ใบสั้นและกว้าง ที่สำคัญกิ่งและก้านมีความหนาและดกแน่น หลังจากเพาะปลูกแล้วสามารถเก็บผลผลิตได้ตั้งแต่ 6 ไปจนถึงอายุ 8 สัปดาห์ เติบโตดีในสภาพอากาศที่เย็นและชอบอยู่ในที่ร่ม มีคุณสรรพคุณด้านการระงับประสาท เพราะมีสาร CBD ที่ช่วยทำให้กล้ามเนื้อของผู้ได้รับผ่อนคลาย ช่วยลดความเจ็บปวดเรื้อรังต่างๆได้
เรื่องควรรู้เกี่ยวกับน้ำมันกัญชาเป็นอย่างไรกันบ้าง กับ 3 สายพันธุ์กัญชาที่นิยมที่สุด ซึ่งได้นำมาฝาก แต่ดูแล้วทุกตัวที่ได้รับความนิยมมากที่สุดเหล่านี้ ล้วนเป็นสายพันธุ์ของต่างประเทศทั้งนั้น จนบางคนเกิดความสงสัยว่าแล้วในประเทศไทยของเราล่ะ มีสายพันธุ์กัญชาชนิดไหนที่ได้รับความนิยมสูงสุดล่ะแน่นอนสายพันธุ์ไทยที่ได้รับความนิยมของเราก็คือ ‘กัญชาสายพันธุ์สติ๊ก’ นั่นเอง หรือหลายคนอาจจะรู้จักกันในชื่อของ ‘กัญชาพันธุ์หางกระรอก’ โดยจะมีการปลูกเพื่อทำการส่งออกไปต่างประเทศ จนกลายเป็นที่ยอมรับมากมายจากประเทศทั่วโลก แต่สายพันธุ์นี้ก็ได้หายสาบสูญจากประเทศของเราไปแล้ว เนื่องจากจากการถูกปราบปรามอย่างจริงจังในสมัยก่อน เพราะตอนนั้นกัญชายังถูกจัดว่าเป็นประเภทของยาเสพติดอยู่นั่นเอง
กัญชา คือ น้ำมันกัญชา คือ
สารสกัดน้ำมันกัญชา กัญชา เป็นพืชล้มลุกคล้ายต้นหญ้า มีสารเคมีอยู่ในใบกัญชาชื่อ Cannabinoids ซึ่งมีฤทธิ์สำคัญได้แก่ THC และ CBD ในปัจจุบัน กันชานิยมนำไปใช้อย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็น สเปรย์ น้ำมัน แคปซูล เครื่องพ่นไอระเหยทางการแพทย์ ไปจนถึงการนำมาใส่ในอาหาร และเครื่องดื่มต่างๆ และในทางการแพทย์นั้น กัญชาทุกนำมาใช้ในการรักษาโรคต่างๆ โดยแต่ละรูปแบบของการรักษา ให้ปริมาณความเข้มของสารแคนนาบินอยด์ที่ไม่เหมือนกัน และตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการดูแล อย่างไรก็ตาม เราควรใช้สารสกัดกัญชาในปริมาณที่พอเหมาะ เพราะกัญชานั้นมี ทั้งประโยชน์และโทษของการใช้กัญชา หากใช้ในปริมาณที่มากเกินไป อาจส่งผลเสียในระยะยาวได้สรรพคุณ ของกัญชา คุณสมบัติกัญชา มีอะไรบ้าง
- ช่วยให้เจริญอาหาร
- ช่วยผ่อนคลาย ทำให้อารมณ์ดีมากขึ้น
- นอนหลับง่าย
- ลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน
- บรรเทาอาการปวดเรื้อรัง
- ต่อต้านอาการซึมเศร้า
- ยับยั้งเซลล์มะเร็ง
- อาการของกัญชา
กัญชาเป็นยารักษาโรค สิ่งที่ต้องรู้
เมื่อเรารับประทานกัญชาเข้าไปแล้ว แต่ละคนอาจมีอาการตอบสนองจากกัญชาที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งอาการที่สามารถสังเกตได้แน่ชัด ดังนี้
- วิงเวียนศีรษะ
- คลื่นไส้อาเจียน
- ปากแห้ง
- คอแห้ง
- หัวใจเต้นเร็ว
- เจ็บหน้าอก
- หายใจไม่ออก
- กระวนกระวาย
- อารมณ์แปรปรวน
- เห็นภาพหลอน
- วิตกกังวล
- อาการติดกัญชา
หากคุณมีอาการเหล่านี้ หลังจากใช้กัญชาไปสักระยะ คุณอาจอยู่ในภาวะเสี่ยงของการติดกัญชา ลองสังเกตอาการของตัวเอง ดังนี้
- เวลาที่คุณเครียด หรือมีปัญหาไม่สบายใจ คุณจะใช้แต่กัญชา เพื่อบรรเทาความเครียด วิตกกังวล
- พยายามหลีกเหลี่ยงการใช้กัญชาแล้ว แต่ก็ไม่สามารถทำได้สำเร็จ
- หมกมุ่นโหยหาแต่กัญชา จนไม่สามารถมีสมาธิในการทำกิจกรรมอื่นๆได้
- มีความรู้สึกต้องการใช้กันชาเพิ่มตลอดเวลา
ข้อดี ข้อเสียของกัญชา
ข้อดีของกัญชา
- หากคุณกำลังเบื่ออาหาร มีความอยากอาหารน้อยลง การรับประทานกันชาสามารถช่วยให้คุณมีความอยากอาหารมากขึ้น
- รู้สึกไม่สบาย มีอาการวิงเวียนหัวคลื่นไส้อาเจียน การรับประทานกันชาสามารถบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน
- ในใบกัญชามีสาร Cannabinoids หากผู้ที่มีอาการซึมเศร้าได้สารรับตัวนี้ สามารถลดพฤติกรรมรุนแรงทางด้านอารมณ์ลงได้
- ในงานวิจัยได้ค้นพบว่า สาร THC ที่อยู่ในใบกัญชาสามารถป้องกันโรคอัลไซเมอร์
- กัญชาทำให้เนื้องอกเนื้อร้ายอย่างมะเร็งหดเหี่ยวลดลงได้
- ผู้ที่นอนไม่ค่อยหลับ การรับประทานกัญชาจะช่วยให้คุณหลับสบายมากขึ้น
ข้อเสียของกัญชา
- เนื่องจากกัญชามีฤทธิ์กระตุ้นประสาท หากผู้เสพใช้ในปริมาณที่มากเกินไป อาจทำให้ผู้เสพมีอาการมึนเมาคล้ายเหล้า เห็นภาพหล่อน หูแวว หวาดระแวง ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้
- ผู้ป่วยที่มีอาการทางจิต ไม่ควรเสพกัญชา เพราะจะส่งผลให้เกิดความสับสน วิตกกังวล สมาธิสั้น จนถึงขั้นเสียการทรงตัว
- การเสพกัญชาในปริมาณและติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ส่งผลให้ร่างกายของคุณเสื่อมโทรมและอาจก่อให้เกิดโรคได้ง่ายขึ้น เช่น โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง น้ำหนักตัวลดลง ซูบผอม
- กัญชายังทำให้ปริมาณอสุจิในเพศชายลดน้อยลง เพราะมีฤทธิ์ที่ส่งผลต่อฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนของเพศชาย
- การสูบกัญชาในปริมาณ 4 ม้วน เทียบเท่ากับการสูบบุหรี่ 1 ซอง และยังมีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้มากกว่าคนสูบบุหรี่สูงถึง 5 เท่า
กัญชาเป็นยารักษาโรค/ภาวะอาการที่สามารถใช้ยากัญชาได้
6 โรค/ภาวะอาการ ที่สารกัญชาได้ประโยชน์ในการรักษา โดยมีข้อมูลวิชาการสบับสนุนชัดเจน ภาวะคลื่นไส้อาเจียนในผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด
- โรคลมชักที่รักษายาก และโรคลมชักที่ดื้อต่อยารักษา
- ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง ในผู้ป่วยปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
- ภาวะเบื่ออาหารในผู้ป่วย AIDS ที่มีน้ำหนักน้อย
- การเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง หรือผู้ป่วยระยะสุดท้ายของชีวิต
4 กลุ่มโรค / ภาวะ ที่น่าจะได้รับประโยชน์จากสารกัญชา แต่ยังต้องการงานวิจัยสนับสนุนเพิ่มเติม
- โรคพาร์กินสัน
- โรคอัลไซเมอร์
- โรคปลอกประสาทอักเสบอื่น ๆ (ที่ไม่ใช่ปลอกประสาทเสื่อมแข็ง)
- โรคอื่น ๆ ที่มีข้อมูลสนับสนุนทางวิชาการว่าน่าจะได้ประโยชน์
คนที่ไม่สามารถใช้ยากัญชาได้
- กำลังตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร
- มีความเสี่ยงสูงในการทำร้ายตนเอง
- โรคซึมเศร้า โรคอารมณ์สองขั้ว โรคจิตจากสารเสพติด โรคจิตเภท
- รับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด
- โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคตับ โรคไต ที่มีอาการรุนแรง
- มีประวัติแพ้สารสกัดกัญชา