วิธีดูเพศกัญชา เราจะสังเกตยังไง ให้ดูว่าต้นของเรานั้นตัวผู้หรือตัวเมีย

วิธีดูเพศกัญชา การดูเพศของกัญชาอาจดูได้ยาก กัญชาตัวผู้และตัวเมีย เนื่องจากจะไม่โชว์เพศจนกว่าจะโตพอที่เกือบพร้อมผสมพันธุ์ หรือการถ่ายละอองเรณู ราวสัปดาห์ที่ 4-6 ของการปลูก
-กัญชาตัวเมียมีเม็ดกลมเล็กๆ อยู่ระหว่างข้อต่อของก้านใบกับลำต้น โดยที่เม็ดกลมๆ นี้จะมีขนสีขาวที่เป็นเกสรตัวเมีย ดอกของกัญชาตัวเมียมีสีเหลืองอ่อน ครีมและขาว
-กัญชาตัวผู้มีเม็ดกลมๆ ระหว่างข้อต่อของก้านใบกับลำต้นเช่นกัน แต่ไม่มีขน
-กัญชาตัวผู้ผลิตละอองเรณูซึ่งเป็นตัวแปรจำเป็นในการผสมพันธุ์ตามธรรมชาติ โดยกัญชาตัวผู้จะมีเม็ดกลมๆ ที่มีเกสรอยู่ข้างใน

ไขข้อสงสัย วิธีดูเพศกัญชา

วิธีดูเพศกัญชา

โดยสถาบันแคนน์เฮลท์ แหล่งเรียนรู้และศูนยฺรวมมองค์ความรู้ในทุกมิติของกัญชาทางการแพทย์ ได้เผยข้อมลูในเรื่องนี้เอาไว้ว่า กัญชาตัวผู้จะไม่มีผลผลิต สำหรับกัญชาเป็นพืชแยกเพศต่างต้น หรือพืชที่มีเกสรตัวผู้และตัวเมียอยู่ คนละต้น ง่าย ๆ ก็คือมีกัญชาเพศผู้และเพศเมีย ซึ่งกัญชาเพศผู้จะมี โครโมโซม XY ส่วนกัญชาเพศเมียโครโมโซม xx โดยตามธรรมชาติจะมีสัดส่วนอยู่ที่ครึ่งต่อครึ่ง

กัญชาเป็นพืชแยกเพศต่างต้น หรือพืชที่มีเกสรตัวผู้และตัวเมียอยู่คนละต้น ง่ายๆ ก็คือมีทั้งกัญชาเพศผู้และเพศเมีย

– กัญชาเพศผู้มีโครโมโซม XY ส่วนกัญชาเพศเมียมีโครโมโซม XX โดยตามธรรมชาติจะมีสัดส่วนอยู่ที่ครึ่งต่อครึ่ง

– กัญชาสามารถเป็นพืชที่มี 2 เพศในต้นเดียวได้ โดยมีทั้งเกสรตัวเมียและเกสรตัวผู้ในต้นเดียวกันที่เรียกว่า “กัญชากะเทย” ซึ่งกัญชากะเทยจะผลิตดอกและจะถ่ายละอองเรณูกับดอกพวกนั้น โดยกัญชาอาจเป็นกัญชากะเทยได้เองตามธรรมชาติหรือกลายเป็นกะเทยเนื่องจากความเครียดของพืชจากปัจจัยอย่างแสงแดดที่มากไป น้ำที่มากไปหรือไม่เพียงพอ รวมไปถึงแมลงหรือโรค  กัญชาตัวเมียจะมีผลผลิต

วิธีดูเพศกัญชาเพศ ของกัญชานั้นมี 3 ประเภท

  • การแยกเพศกัญชา เพศของกัญชาไม่ใช่แค่ขึ้นอยู่กับพันธุกรรม แต่ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยสิ่งแวดล้อมรอบข้างด้วย แต่ละเพศมีความโดดเด่นที่แตกต่างกัน

  • การดูเพศของกัญชาอาจดูได้ยาก เนื่องจากจะไม่โชว์เพศจนกว่าจะโตพอที่เกือบพร้อมผสมพันธุ์ หรือการถ่ายละอองเรณู ราวสัปดาห์ที่ 4-6 ของการปลูก
  • กัญชาตัวเมียมีเม็ดกลมเล็กๆ อยู่ระหว่างข้อต่อของก้านใบกับลำต้น โดยที่เม็ดกลมๆ นี้จะมีขนสีขาวที่เป็นเกสรตัวเมีย ดอกของกัญชาตัวเมียมีสีเหลืองอ่อน ครีมและขาว
  • กัญชาตัวผู้มีเม็ดกลมๆ ระหว่างข้อต่อของก้านใบกับลำต้นเช่นกัน แต่ไม่มีขน
  • กัญชาตัวผู้ผลิตละอองเรณูซึ่งเป็นตัวแปรจำเป็นในการผสมพันธุ์ตามธรรมชาติ โดยกัญชาตัวผู้จะมีเม็ดกลมๆ ที่มีเกสรอยู่ข้างใน
  • กัญชาตัวเมียคือตัวที่ออกดอกและมีสาร THC มากที่สุด หากได้รับการถ่ายละอองเรณูจากกัญชาตัวผู้ (ผสมพันธุ์) ดอกของตัวเมียจะกลายเป็นเมล็ดซึ่งอาจเป็นผลผลิตที่คนนิยมน้อยกว่าดอก
  • ดังนั้นในกรณีที่ต้องการนำสารแคนนาบินอยด์ในดอกกัญชาไปใช้ในการรักษา เม็ดกลมๆ ที่มีเกสรอยู่ข้างในของกัญชาตัวผู้จะถูกตัดและแยกออกจากบริเวณที่มีกัญชาตัวเมีย เพื่อป้องกันการถ่ายละอองเรณูตามธรรมชาติและรักษาดอกของกัญชาตัวเมียไว้เพื่อการเก็บเกี่ยว
  • ในกรณีที่ต้องการขยายพันธุ์หรือผลิตสายพันธุ์ใหม่ เม็ดกลมๆ ที่มีเกสรตัวผู้อาจถูกตัดแยกออกมาจากต้นและอาจถ่ายละอองเรณูด้วยมือกับสายพันธุ์กัญชาเพศเมียที่สนใจ

ส่วนต่าง ๆของลำต้นและใบมีประโยชน์อีกมากมาย

ดอกกัญชามีประโยชน์
  1. สร้างสายพันธุ์ใหม่ หรือรักษาสายพันธุ์เดิมเอาไว้

การผสมพันธุ์ต้องใช้เกสรจากกัญชาตัวผู้ โดยเกสรเดินทางโดยลมเพื่อไปยังกัญชาตัวเมียตามธรรมชาติ บางคนตัดกัญชาเพศผู้ แยกเกสรตัวผู้ออกแล้วทำการผสมเกสรกับกัญชาตัวเมียที่อยากได้เพื่อสร้างสายพันธุ์ใหม่หรือ รักษาสายพันธุ์เดิมเอาไว้

  1. ทำยาสารสกัด

กัญชาตัวผู้ไม่มีสาร THC ดังนั้นไม่สามารถทำให้เกิดฤทธิ์ทางจิตประสาทหรืออาการเคลิบเคลิ้ม มึนเมาได้ โดยกัญชาตัวผู้ ยังมีสารแคนนาบินอยด์ตัวอื่นอย่างสาร CBD หรือ CBN อยู่ด้วย ซึ่งมีคุณสมบัติในการเป็นยารักษาโดยไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางประสาทและอารมณ์

  1. ใช้รากเพื่อทำยา

รากก็เหมือนเมล็ดที่มีคุณสมบัติการรักษาที่เหมาะสมกับร่างกายมนุษย์ โดยมีสาร THC น้อยกว่า 1% ทำให้ไม่ต้องกังวลเรื่องอาการเคลิบเคลิ้ม มึนเมา ด้วยสารคุณสมบัติต่างๆ อย่างเพนต้าไซคลิก ไตรเทอร์พีน สารฟริเดลีน และสารอิพฟรี เดลานอล ที่มีประโยชน์ต่อตับ อีกทั้งยับยั้งการเติบโตของเนื้องอกและทำหน้าที่ต้านอาการอักเสบของตับ

  1. ใช้ทำน้ำกัญชา

น้ำกัญชาเป็นวิธีการบริโภคกัญชาตัวผู้ที่ได้รับความนิยมในช่วงปี 2010 ซึ่งมักนำมาใช้โดยผู้ป่วยในการลดกลุ่มอาการป่วยหรือการรักษาที่พวกเขาเผชิญอยู่ ทว่าการบริโภควิธีนี้ทำให้ได้รับสารแคนนาบินอยด์ในรูปแบบที่บริสุทธิ์ที่สุด ปราศจากการเผาไหม้หรือสกัด โดยน้ำกัญชาสามารถรับประทานในชีวิตประจำวัน เพื่อควบคุมระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์

ข้อดี ข้อเสียของกัญชา

ข้อดีของกัญชา

  1. หากคุณกำลังเบื่ออาหาร มีความอยากอาหารน้อยลง การรับประทานกันชาสามารถช่วยให้คุณมีความอยากอาหารมากขึ้น
  2. รู้สึกไม่สบาย มีอาการวิงเวียนหัวคลื่นไส้อาเจียน การรับประทานกันชาสามารถบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน
  3. ในใบกัญชามีสาร Cannabinoids หากผู้ที่มีอาการซึมเศร้าได้สารรับตัวนี้ สามารถลดพฤติกรรมรุนแรงทางด้านอารมณ์ลงได้
  4. ในงานวิจัยได้ค้นพบว่า สาร THC ที่อยู่ในใบกัญชาสามารถป้องกันโรคอัลไซเมอร์
  5. กัญชาทำให้เนื้องอกเนื้อร้ายอย่างมะเร็งหดเหี่ยวลดลงได้
  6. ผู้ที่นอนไม่ค่อยหลับ การรับประทานกัญชาจะช่วยให้คุณหลับสบายมากขึ้น

ข้อเสียของกัญชา

  1. เนื่องจากกัญชามีฤทธิ์กระตุ้นประสาท หากผู้เสพใช้ในปริมาณที่มากเกินไป อาจทำให้ผู้เสพมีอาการมึนเมาคล้ายเหล้า เห็นภาพหล่อน หูแวว หวาดระแวง ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้
  2. ผู้ป่วยที่มีอาการทางจิต ไม่ควรเสพกัญชา เพราะจะส่งผลให้เกิดความสับสน วิตกกังวล สมาธิสั้น จนถึงขั้นเสียการทรงตัว
  3. การเสพกัญชาในปริมาณและติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ส่งผลให้ร่างกายของคุณเสื่อมโทรมและอาจก่อให้เกิดโรคได้ง่ายขึ้น เช่น โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง น้ำหนักตัวลดลง ซูบผอม
  4. กัญชายังทำให้ปริมาณอสุจิในเพศชายลดน้อยลง เพราะมีฤทธิ์ที่ส่งผลต่อฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนของเพศชาย
  5. การสูบกัญชาในปริมาณ 4 ม้วน เทียบเท่ากับการสูบบุหรี่ 1 ซอง และยังมีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้มากกว่าคนสูบบุหรี่สูงถึง 5 เท่า
กัญชาเป็นยารักษาโรค/ภาวะอาการที่สามารถใช้ยากัญชาได้

6 โรค/ภาวะอาการ ที่สารกัญชาได้ประโยชน์ในการรักษา โดยมีข้อมูลวิชาการสบับสนุนชัดเจน ภาวะคลื่นไส้อาเจียนในผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด

  • โรคลมชักที่รักษายาก และโรคลมชักที่ดื้อต่อยารักษา
  • ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง ในผู้ป่วยปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
  • ภาวะเบื่ออาหารในผู้ป่วย AIDS ที่มีน้ำหนักน้อย
  • การเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง หรือผู้ป่วยระยะสุดท้ายของชีวิต

4 กลุ่มโรค / ภาวะ ที่น่าจะได้รับประโยชน์จากสารกัญชา แต่ยังต้องการงานวิจัยสนับสนุนเพิ่มเติม

  • โรคพาร์กินสัน
  • โรคอัลไซเมอร์
  • โรคปลอกประสาทอักเสบอื่น ๆ (ที่ไม่ใช่ปลอกประสาทเสื่อมแข็ง)
  • โรคอื่น ๆ ที่มีข้อมูลสนับสนุนทางวิชาการว่าน่าจะได้ประโยชน์
คนที่ไม่สามารถใช้ยากัญชาได้
  • กำลังตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร
  • มีความเสี่ยงสูงในการทำร้ายตนเอง
  • โรคซึมเศร้า โรคอารมณ์สองขั้ว โรคจิตจากสารเสพติด โรคจิตเภท
  • รับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด
  • โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคตับ โรคไต ที่มีอาการรุนแรง
  • มีประวัติแพ้สารสกัดกัญชา

เว็บข่าวกัญชา :: weedbong420.com

เว็บไซต์แฟนเพจสนุก :: Weedzbong420