กัญชากับเยาวชน

กัญชากับเยาวชน พัฒานการเด็กไทยในยุคกัญชาเสรี

กัญชากับเยาวชน_H1

รส.นพ. สุริยเดว ซึ่งเป็นผู่เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น อธิบายว่าเด็กและเยาวชนไม่ควรรับประทานกัญชาเลย ไม่ว่าจะด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือเพียงเพราะความบังเอิญ เพราะจะส่งผลกระทบต่อเด็กในระยะยาว  

ประการแรก เซลล์สมองของเด็กและวัยรุ่นไวต่อสิ่งเร้า หากบริโภคกัญชาแม้เพียงเล็กน้อย จะบ่มเพาะสมอง จนสุ่มเสี่ยงทำให้เข้าสู่วงจรของการติดยาเสพติดได้

ประการที่สอง การบริโภคกัญชาจะกระทบต่อร่างกาย อาจทำให้เกิดอาการแพ้ และเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินอากาศ รวมถึงส่งผลในมิติการตัดสินใจ และการดำเนินชีวิตของเยาวชนได้ ดังนั้น รศ.นพ. สุริยเดว มองว่า การโฆษณา การกล่าวถึงสรรพคุณต่าง ๆ ของกัญชา ยิ่งเป็นการเชื้อเชิญให้เยาวชน “อยากรู้-อยากลอง” และแม้จะมีประกาศ สธ. ออกมาห้ามการจัดจำหน่าย แต่ รศ.นพ. สุริยเดว ชี้ว่า นี่เป็นคำสั่งเชิงระบบ มีผลกับคนที่อยู่ในระบบ “แล้วมีประชากรแค่ไหนที่อยู่นอกระบบ?”

กัญชา ส่งผลกระทบต่อเด็กและวัยรุ่นอย่างไร?

กัญชากับเยาวชน

สารสกัดจากกัญชามี 2 ชนิดหลัก ได้แก่ THC และ CBD พืชกัญชาส่วนใหญ่ มี THC สูงกว่า CBD ซึ่งสาร THC (Tetrahydrocannabinol) มีผลกระทบต่อสมองเด็ก

กัญชาส่งผลกระทบที่รุนแรง โดยเฉพาะผลกระทบต่อสมองของเด็กและวัยรุ่น เช่น พัฒนาการล่าช้า ปัญหาพฤติกรรม เชาวน์ปัญญาลดลง และส่งผลกระทบต่อด้านอารมณ์และจิตใจ เช่น เสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคจิตเภท ภาวะฆ่าตัวตาย เสี่ยงต่อการเกิดสารเสพติดชนิดอื่นๆ รวมถึงส่งผลเสียต่อสุขภาพกายทั้งในระยะสั้นและระยะยาวเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี ไม่ควรเข้าถึงและบริโภคกัญชา เนื่องจากสมองยังพัฒนาไม่เต็มที่ การบริโภคกัญชามีผลต่อสมองของเด็ก และอาจส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและการทำงานของสมองที่กำลังพัฒนา นอกจากนี้กัญชายังผลข้างเคียงระยะฉับพลันที่รุนแรง โดยแบ่งออกเป็น

  • อาการทางระบบประสาท: สับสน ซึม เวียนศีรษะ เดินเซ เห็นภาพหลอน ชัก กล้ามเนื้อเกร็งกระตุก
  • อาการทางระบบหัวใจ: ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว หัวใจเต้นผิดจังหวะ ความดันโลหิตสูง หน้ามืด/วูบ แน่นหน้าอก หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
  • อาการทางระบบทางเดินอาหาร: คลื่นไส้ ปวดท้อง อาเจียน

ถึงแม้ว่าในประเทศไทยจะห้ามใช้กัญชาในเด็ก และวัยรุ่นช่วงอายุน้อยกว่า 20 ปี แต่เราต้องเฝ้าระวังการเกิดอุบัติเหตุจากการใช้กัญชาในรูปแบบต่างๆ โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ไม่ว่าจะเป็นการใช้น้ำมันกัญชา การสูบ การรับประทานกัญชาในอาหารบางอย่าง เช่น ขนมเค้ก บราวนี่ เป็นต้น

กัญชากับเยาวชน ห้ามผสมกัญชาในอาหาร-ติดฉลากเตือนชัดเจน

ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ได้ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 2 ถึงผลกระทบของกฎหมายกัญชาเสรีต่อสุขภาพเด็กและวัยรุ่น โดยเสนอรัฐบาลให้มีมาตรการควบคุม แบ่งเป็น 4 ข้อ ดังนี้

  1. เห็นควรให้กำหนดการใช้กัญชาเฉพาะกรณีมีความจำเป็นทางการแพทย์เท่านั้น โดยอยู่ภายใต้การดูแลรักษาของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิด
  2. ต้องมีมาตรการห้ามมิให้มีการใช้กัญชา และสารสกัดจากกัญชา เป็นส่วนประกอบในอาหาร ขนม และเครื่องดื่มทุกชนิด เนื่องจากประชาชนรวมทั้งเด็ก หญิงตั้งครรภ์ และหญิงให้นมบุตรอาจเข้าถึงได้โดยไม่ตั้งใจ และไม่สามารถควบคุมปริมาณกัญชาในส่วนประกอบที่บริโภคได้
  3. ในระยะเร่งด่วน ระหว่างรอร่างกฎหมาย เสนอให้มีมาตรการควบคุมดังนี้

3.1 ให้มีมาตรการควบคุม การผลิต และขายอาหารหรือผลิตภัณฑ์ที่มีกัญชาผสม กำหนดให้มีเครื่องหมาย/ข้อความเตือนอย่างชัดเจน โดยระบุว่า “กัญชามีผลทำลายสมองเด็ก งดจำหน่ายให้เด็กและเยาวชนที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี หญิงมีครรภ์และหญิงให้นมบุตร”

3.2 ห้ามโฆษณา จัดกิจกรรมส่งเสริมการขายรวมถึงนำเด็กและเยาวชนมามีส่วนร่วม และจัดจำหน่าย

3.3 ให้ข้อมูลที่ถูกต้องกับประชาชนเรื่องโทษของกัญชากับสมองเด็กและวัยรุ่น เพื่อให้เกิดความตระหนักรู้ว่ากัญชาเป็นสารที่มีฤทธิ์เสพติด ส่งผลต่อสุขภาพกายและจิตใจในระยะเฉียบพลัน และอาจรุนแรงถึงกับชีวิตได้

  1. ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามผลกระทบของกัญชาต่อเด็กอย่างต่อเนื่องและจริงจัง และนำมาเปิดเผยสู่สาธารณชน

กัญชากับเยาวชนผสมกันมั่วซั่วไปหมด

รศ.พญ.อดิศร์สุดา เฟื่องฟู เลขาอนุกรรมการจัดทำข้อแนะนำและติดตามผลกระทบของกัญชาต่อเด็ก ของราชวิทยาลัยฯ ให้สัมภาษณ์ในรายการเจาะลึกทั่วไทย Inside Thailand ว่า ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยมีมุมมองที่ “เห็นด้วย” กับกระทรวงสาธารณสุขถึงการปลดล็อกกัญชา-กัญชง ในฐานะ “สมุนไพรควบคุมและใช้ในทางการแพทย์” เพื่อรักษาโรคอาทิ ลมชักชนิดดื้อยา และผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย เป็นต้น

สถานทูตไทยประกาศเตือน ฝ่าฝืนนำเข้ากัญชา-กัญชงมีโทษตามกฎหมาย

ประโยชน์ของต้นกัญชา

สถานเอกอัครราชทูตไทยในประเทศต่าง ๆ เช่น อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ ทยอยออกประกาศตั้งแต่ช่วงปลายเดือน มิ.ย. เตือนคนไทยที่จะเดินทางเข้าประเทศ มิให้นำกัญชา กัญชง หรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของพืชชนิดดังกล่าวเข้ามาในประเทศ หากฝ่าฝืนมีโทษตามกฎหมายทั้งโทษปรับ จำคุก ทั้งจำทั้งปรับ หรือห้ามไม่ให้เดินทางเข้าประเทศอีกขึ้นอยู่กับกฎหมายของประเทศนั้น ๆ ส่วนโทษรุนแรงที่สุดของอินโดนีเซียและสิงคโปร์กรณีลักลอบค้า นำเข้า หรือส่งออก ผู้กระทำผิดอาจได้รับโทษสูงสุดถึงประหารชีวิต

ข้อดี ข้อเสียของกัญชา

ข้อดีของกัญชา

  1. หากคุณกำลังเบื่ออาหาร มีความอยากอาหารน้อยลง การรับประทานกันชาสามารถช่วยให้คุณมีความอยากอาหารมากขึ้น
  2. รู้สึกไม่สบาย มีอาการวิงเวียนหัวคลื่นไส้อาเจียน การรับประทานกันชาสามารถบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน
  3. ในใบกัญชามีสาร Cannabinoids หากผู้ที่มีอาการซึมเศร้าได้สารรับตัวนี้ สามารถลดพฤติกรรมรุนแรงทางด้านอารมณ์ลงได้
  4. ในงานวิจัยได้ค้นพบว่า สาร THC ที่อยู่ในใบกัญชาสามารถป้องกันโรคอัลไซเมอร์
  5. กัญชาทำให้เนื้องอกเนื้อร้ายอย่างมะเร็งหดเหี่ยวลดลงได้
  6. ผู้ที่นอนไม่ค่อยหลับ การรับประทานกัญชาจะช่วยให้คุณหลับสบายมากขึ้น

ข้อเสียของกัญชา

  1. เนื่องจากกัญชามีฤทธิ์กระตุ้นประสาท หากผู้เสพใช้ในปริมาณที่มากเกินไป อาจทำให้ผู้เสพมีอาการมึนเมาคล้ายเหล้า เห็นภาพหล่อน หูแวว หวาดระแวง ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้
  2. ผู้ป่วยที่มีอาการทางจิต ไม่ควรเสพกัญชา เพราะจะส่งผลให้เกิดความสับสน วิตกกังวล สมาธิสั้น จนถึงขั้นเสียการทรงตัว
  3. การเสพกัญชาในปริมาณและติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ส่งผลให้ร่างกายของคุณเสื่อมโทรมและอาจก่อให้เกิดโรคได้ง่ายขึ้น เช่น โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง น้ำหนักตัวลดลง ซูบผอม
  4. กัญชายังทำให้ปริมาณอสุจิในเพศชายลดน้อยลง เพราะมีฤทธิ์ที่ส่งผลต่อฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนของเพศชาย
  5. การสูบกัญชาในปริมาณ 4 ม้วน เทียบเท่ากับการสูบบุหรี่ 1 ซอง และยังมีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้มากกว่าคนสูบบุหรี่สูงถึง 5 เท่า
กัญชาเป็นยารักษาโรค/ภาวะอาการที่สามารถใช้ยากัญชาได้

6 โรค/ภาวะอาการ ที่สารกัญชาได้ประโยชน์ในการรักษา โดยมีข้อมูลวิชาการสบับสนุนชัดเจน ภาวะคลื่นไส้อาเจียนในผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด

  • โรคลมชักที่รักษายาก และโรคลมชักที่ดื้อต่อยารักษา
  • ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง ในผู้ป่วยปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
  • ภาวะเบื่ออาหารในผู้ป่วย AIDS ที่มีน้ำหนักน้อย
  • การเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง หรือผู้ป่วยระยะสุดท้ายของชีวิต

4 กลุ่มโรค / ภาวะ ที่น่าจะได้รับประโยชน์จากสารกัญชา แต่ยังต้องการงานวิจัยสนับสนุนเพิ่มเติม

  • โรคพาร์กินสัน
  • โรคอัลไซเมอร์
  • โรคปลอกประสาทอักเสบอื่น ๆ (ที่ไม่ใช่ปลอกประสาทเสื่อมแข็ง)
  • โรคอื่น ๆ ที่มีข้อมูลสนับสนุนทางวิชาการว่าน่าจะได้ประโยชน์
คนที่ไม่สามารถใช้ยากัญชาได้
  • กำลังตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร
  • มีความเสี่ยงสูงในการทำร้ายตนเอง
  • โรคซึมเศร้า โรคอารมณ์สองขั้ว โรคจิตจากสารเสพติด โรคจิตเภท
  • รับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด
  • โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคตับ โรคไต ที่มีอาการรุนแรง
  • มีประวัติแพ้สารสกัดกัญชา

เว็บข่าวกัญชา :: weedbong420.com

เว็บไซต์แฟนเพจสนุก :: Weedzbong420