สารสำคัญในกัญชา

สารสำคัญในกัญชา ที่ได้รับการยอมรับว่าเชื่อถือได้ จากทางการแพทย์

สารสำคัญในกัญชา_H1

การวิจัยพบว่ากัญชาผลิต cannabinoids 100กว่าชนิด และสารเคมีที่มีประโยชน์อื่นๆ กว่า 400 ชนิด

The endocannabinoid system

สาระสำคัญในกัญชา ระบบเอนโดแคนนาบินอยด์ Endocannabinoid System เป็นระบบการสื่อสารเฉพาะที่พบในสมองและร่างกายซึ่งมีผลต่อการทำงานที่สำคัญหลายอย่างประกอบด้วยโมเลกุลตามธรรมชาติที่เรียกว่า Cannabinoid และระบบการทำงานสื่อประสาท ส่วนเหล่านี้ทำงานร่วมกันเพื่อควบคุมกิจกรรมต่างๆรวมถึงอารมณ์ ความจำ การนอนหลับ และความอยากอาหาร ดังนั้นกัญชาจึงเป็นยาที่สามารถรักษาอาการเจ็บป่วยต่างๆได้โดยออกฤทธิ์ต่อระบบเอนโดแคนนาบินอยด์ในร่างกายของเรา

สารสำคัญในกัญชา Tetrahydrocannabinol (THC)

สารสำคัญในกัญชา

สารที่สำคัญในกัญชา สารสำคัญ THC เป็นสารหลักในกัญชาทที่มีองค์ประกอบมีฤทธิ์ทางจิตประสาท มีประสิทธิภาพเป็นยาแก้ปวด นำไปสู่การยอมรับกัญชาอย่างกว้างขวางในฐานะการรักษาทางการแพทย์ เป็นที่นิยมในหมู่ผู้ใช้ทางสันทนาการ และใช้ในการรักษาคนไข้กลุ่มปวดเรื้อรัง ผู้ต้องการลดผลข้างเคียงของเคมีบำบัด ผู้ป่วยลมชัก หรือต้องการเพิ่มความอยากอาหารในกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรังหรือ HIV ทั้งนี้ การทำงานของยายังไม่ได้วิจัยในการใช้อย่างปลอดภัยทางเภสัชกรรมเป็นวงกว้างจากความกังวัลถึงผลข้างเคียงต่อจิตประสาท ปัจจุบันมีการค้นพบเกี่ยวกับการใช้ CBD ควบคู่กับ THC เพื่อช่วยต่อต้านอาการหวาดระแวงและผลกระทบทางจิตประสาทได้

สารสำคัญในกัญชาCannabinoid THC เป็น psychoactive compound ซึ่งส่วนใหญ่จะจับกับ cannabinoid receptors ซึ่งพบอยู่ 2 กลุ่มหลักคือ CB1 และ CB2 โดย CB1 จะพบมากที่ (1) ระบบประสาทส่วนกลาง (Central nerve system) โดยเฉพาะในส่วน basal ganglia, hippocampus, cerebellum และ cortex ซึ่งสะท้อนกลไกการเกิด psychotropic effect ของ THC ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักในสารสกัดกัญชา และ (2) ในระบบประสาทส่วนปลาย (Peripheral nerve system) ในขณะที่ CB2 receptors จะพบที่เนื้อเยื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (Immune system)4,5 ดังนั้นจึงมีผลต่อ ความอยากอาหาร การย่อยอาหาร อารมณ์ ความรู้สึก ความจำ การเรียนรู้ และพฤติกรรม นอกจากนี้ยังมีการค้นพบว่าอาจมี receptors อื่นๆ ที่อาจมาทำหน้าที่เช่นเดียวกับ cannabinoids receptors

สารสำคัญในกัญชาCannabidiol (CBD)

แนะนำสาระสำคัญในกัญชา มีความสามารถในการจับกับ CB1 และ CB2 receptors แบบโดยตรงได้เพียงเล็กน้อย แต่มีลักษณะเป็น negative allosteric modulator กับ CB1 receptor ซึ่งส่งผลกับการทำงานกับ receptors อื่นๆ ทำให้สามารถลดอาการปวด อาการอักเสบ และลดความกังวลได้ การค้นพบกลไกการออกฤทธิ์ของสารกลุ่มนี้ สารสำคัญในกัญชาอันตรายไหม รวมถึงการค้นพบ endocannabinoids ซึ่งเป็น endogenous agonists ของ cannabinoids receptors เช่น N-arachidonoyl-ethanolamine (AEA; anandamide) และ 2-arachidonoylglycerol (2-AG)5 ทำให้มีความเข้าใจในกลไกการออกฤทธิ์ของสารกลุ่มนี้รวมถึงผลข้างเคียงมากยิ่งขึ้น และมีการนำมาวิจัยเพื่อประโยชน์ในการรักษาอาการหรือโรคต่างๆ อาทิ อาการปวดเรื้อรัง ปลอกประสาทเสื่อม มะเร็ง โรคลมชัก อาการวิตกกังวล และช่วยกระตุ้นความอยากอาหาร  ความผิดปกติด้านการนอน  ต้อหิน โรคโครห์นและลำไส้อักเสบ โรคพาร์กินสัน โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคสมาธิสั้น (ADD) และภาวะป่วยทางจิตจากเหตุการณ์รุนแรง (PTSD) ซึ่งแต่ละอาการ ก็มีระดับการตอบสนองที่แตกต่างกัน ผู้ใช้จึงควรอยู่ในการดูแลของแพทย์

Cannabidiol ถูกค้นพบครั้งแรกในปีพ. ศ. 2483 แต่เพิ่งได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและยาเป็นยาต้านอาการชักไม่นานมานี้ CBD ได้สนใจมากขึ้นอย่างรวดเร็วจากการศึกษาผลลัพย์ต่ออาการโรควิตกกังวล ความเจ็บปวด ตลอดจนกรณีการรักษาด้วยกัญชาและ CBD สามารถใช้ได้ผลกับผู้ป่วย PTSD หรือโรคจิต ที่นำไปสู่การขยายผลิตภัณฑ์ CBD ในตลาดสุขภาพจำนวนมาก สารสำคัญในกัญชาช่วยในการรักษา

Cannabidiol หรือ CBD เป็นเพียงหนึ่งในสารประกอบที่มีฤทธิ์มากกว่า 100 ชนิดในพืชกัญชาที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับระบบเอนโดแคนนาบินอยด์ในร่างกายซึ่งเป็นระบบที่สร้างความสมดุล ซึ่งมีตัวรับในสมองระบบประสาทและระบบภูมิคุ้มกัน พร้อมคุณสมบัติที่เป็นเอกลักษณ์และศักยภาพในด้านสุขภาพการแพทย์จากธรรมชาติ

สารสำคัญในกัญชาCannabinol (CBN)

สารประกอบสำคัญที่มีผลการทำงานเป็นยาช่วยในการนอนหลับ cannabinol มีอยู่เป็นสัดส่วนน้อย และพร้อมใช้งานน้อยกว่า CBD หรือ THC แม้ว่าจะเป็นหนึ่งใน cannabinoids แรกที่ถูกค้นพบ CBN ผลิตขึ้นเมื่อ THC ถูกออกซิไดซ์ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ดอกกัญชาแห้งที่สัมผัสกับออกซิเจนสามารถเป็นแหล่งที่ดีสำหรับการสกัด CBN นอกเหนือจากการเป็นตัวช่วยในการนอนหลับที่มีประสิทธิภาพแล้ว CBN ยังร่วมกับ CBD และ THC ในคุณสมบัติต้านการอักเสบที่มีประสิทธิภาพ การบรรเทาอาการซึมเศร้า และภาวะทางระบบประสาทเช่นโรคลมชักและอัลไซเมอร์

ข้อดี ข้อเสียของกัญชา

ข้อดีของกัญชา

  1. หากคุณกำลังเบื่ออาหาร มีความอยากอาหารน้อยลง การรับประทานกันชาสามารถช่วยให้คุณมีความอยากอาหารมากขึ้น
  2. รู้สึกไม่สบาย มีอาการวิงเวียนหัวคลื่นไส้อาเจียน การรับประทานกันชาสามารถบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน
  3. ในใบกัญชามีสาร Cannabinoids หากผู้ที่มีอาการซึมเศร้าได้สารรับตัวนี้ สามารถลดพฤติกรรมรุนแรงทางด้านอารมณ์ลงได้
  4. ในงานวิจัยได้ค้นพบว่า สาร THC ที่อยู่ในใบกัญชาสามารถป้องกันโรคอัลไซเมอร์
  5. กัญชาทำให้เนื้องอกเนื้อร้ายอย่างมะเร็งหดเหี่ยวลดลงได้
  6. ผู้ที่นอนไม่ค่อยหลับ การรับประทานกัญชาจะช่วยให้คุณหลับสบายมากขึ้น

ข้อเสียของกัญชา

  1. เนื่องจากกัญชามีฤทธิ์กระตุ้นประสาท หากผู้เสพใช้ในปริมาณที่มากเกินไป อาจทำให้ผู้เสพมีอาการมึนเมาคล้ายเหล้า เห็นภาพหล่อน หูแวว หวาดระแวง ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้
  2. ผู้ป่วยที่มีอาการทางจิต ไม่ควรเสพกัญชา เพราะจะส่งผลให้เกิดความสับสน วิตกกังวล สมาธิสั้น จนถึงขั้นเสียการทรงตัว
  3. การเสพกัญชาในปริมาณและติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ส่งผลให้ร่างกายของคุณเสื่อมโทรมและอาจก่อให้เกิดโรคได้ง่ายขึ้น เช่น โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง น้ำหนักตัวลดลง ซูบผอม
  4. กัญชายังทำให้ปริมาณอสุจิในเพศชายลดน้อยลง เพราะมีฤทธิ์ที่ส่งผลต่อฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนของเพศชาย
  5. การสูบกัญชาในปริมาณ 4 ม้วน เทียบเท่ากับการสูบบุหรี่ 1 ซอง และยังมีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้มากกว่าคนสูบบุหรี่สูงถึง 5 เท่า
กัญชาเป็นยารักษาโรค/ภาวะอาการที่สามารถใช้ยากัญชาได้

6 โรค/ภาวะอาการ ที่สารกัญชาได้ประโยชน์ในการรักษา โดยมีข้อมูลวิชาการสบับสนุนชัดเจน ภาวะคลื่นไส้อาเจียนในผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด

  • โรคลมชักที่รักษายาก และโรคลมชักที่ดื้อต่อยารักษา
  • ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง ในผู้ป่วยปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
  • ภาวะเบื่ออาหารในผู้ป่วย AIDS ที่มีน้ำหนักน้อย
  • การเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง หรือผู้ป่วยระยะสุดท้ายของชีวิต

4 กลุ่มโรค / ภาวะ ที่น่าจะได้รับประโยชน์จากสารกัญชา แต่ยังต้องการงานวิจัยสนับสนุนเพิ่มเติม

  • โรคพาร์กินสัน
  • โรคอัลไซเมอร์
  • โรคปลอกประสาทอักเสบอื่น ๆ (ที่ไม่ใช่ปลอกประสาทเสื่อมแข็ง)
  • โรคอื่น ๆ ที่มีข้อมูลสนับสนุนทางวิชาการว่าน่าจะได้ประโยชน์
คนที่ไม่สามารถใช้ยากัญชาได้
  • กำลังตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร
  • มีความเสี่ยงสูงในการทำร้ายตนเอง
  • โรคซึมเศร้า โรคอารมณ์สองขั้ว โรคจิตจากสารเสพติด โรคจิตเภท
  • รับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด
  • โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคตับ โรคไต ที่มีอาการรุนแรง
  • มีประวัติแพ้สารสกัดกัญชา

เว็บข่าวกัญชา :: weedbong420.com

เว็บไซต์แฟนเพจสนุก :: Weedzbong420